2553-10-02

คำแนะนำและข้อปฏิบัติในการสวดมนต์

คำแนะนำและข้อปฏิบัติในการสวดมนต์
   1.ปรับใจให้มีความเชื่อ ความศรัทธาในพระคาถาให้มากที่สุดว่า พระคาถาที่จะสวดนี้เป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นของศักดิ์สิทธิ์จริง  ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตน และคนอื่น เป็นที่พึ่งที่ดีสุด สำหรับชีวิตเรา 
   2.ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นว่า ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแ่น่นอน มีแต่อุปสรรค มีแต่ปัญหา มีแต่ความทุกข์มากมายเกิดขึ้นอยู่เสมอ บุญมีจริง บาปมีจริง ทุกชีิวิตล้วนแต่ต้องการความสุข ความสำเร็จ ความสมหวังกันทั้งนั้น การสวดมนต์เป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นเหตุให้ได้มาซึ่งความสุข ความสำเร็จ มาสู่ชีวิตเราได้ คนไม่รู้จักสวดมนต์ จะมีแต่ความทุกข์ ความเดือนร้อนเกิดขึ้นกับชีวิตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
   3.จงมีความอดทน เพียรพยายามสวดให้ได้ทุกวัน อย่าให้ขาด มากน้อยขอให้ได้สวด การสวดมนต์เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก มักมีอุปสรรคเกิดขึ้นขัดขวางต่อผู้สวดมนต์ ยิ่งถ้าเป็นคนมีกรรมมีเวรมาก ยิ่งลำบาก แต่เป็นการลำบาำกแต่ในช่วงสองสามอาทิตย์แรกเท่านั้น ผ่านไปได้ ก็จะดี รู้สึกสบาย ไม่อึดอัด ไม่ทรมาน ขอจงอดทน มีสัจจะให้มากไว้ เตือนตัวเองอยู่เสมอๆ ว่าเราต้องได้ เพื่อชีวิตของเรา
   4.ไม่ต้องอธิษฐานหรือปรารถนาอะไรทั้งสิ้น  การสวดมนต์ไม่ใช่้การอ้อนวอนต่อรองเรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นการสร้างบุญสร้างบารมี เพิ่มพลังบุญ พลังความศักดิ์สิทธิ์ให้เกิดขึ้นกับตนเอง การสวดมนต์เป็นการทำเหตุปัจจัยจัดระบบชีวิตให้ดีขึ้น ให้ถูกต้องเท่านั้น ส่วนผลนั้นจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เหมือนการรับประทานยา เหมือนการปลูกต้นไม้ ขอเพียงรับประทานให้ตรงตามเวลา โรคย่อมหาย ดูแลต้นไม้ให้ดีถูกต้องตามกรรมวิธี ผลดอกย่ิอมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน การสวดมนต์ก็เป็นเช่นนั้น 
   5.จะสวดเวลาไหน ที่ไหนก็ได้ (ยกเว้นในห้องน้ำ) จะอยู่ในอิริยาบถไหนก็ได้เช่นเดียวกัน ขอให้ใจเราพร้อมและมีเวลาสะดวก จะสวดวันละกี่ครั้งก็ได้้ จงสวดเิถิดไม่มีความผิดใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้ามีห้องพระในบ้าน ก็สวดในห้องพระ จัดเครื่องสักการะบูชามีดอกไม้ ธูป เทียน ตามสมควรได้ยิ่งเป็นสิ่งที่ดี
   6.จะสวดในใจ หรือสวดออกเสียงก็ได้ แล้วแต่กาลเวลาและสถานที่ จะพนมมือหรือไม่พนมมือก็ได้ อาจจะยกมือไหว้สักครั้งก่อนสวดก็ได้เป็นการดี ถ้าอยู่ในบ้าน ในสถานที่พร้อม ก็ควรพนมมือสวด ควรตั้ง นะโม ฯลฯ สัมมาสัมพุทธธัสสะฯ 3 ครั้ง ก่อนสวดทุกๆ ครั้งที่มีการสวดมนต์บทใดบทหนึ่ง
   7.จะถือหนังสือดูสวดก็ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรพยายามท่องจำให้ได้ในแต่ละบท หรือบทหนึ่งบทใดก็ได้ ที่ตนเองชอบ เป็นสิ่งที่ดีมาก จะได้เป็นสมบัติชีวิต สมบัติสมองติดตัวไว้ และสมองก็จะได้จดจำพระถาคาไว้ แทนที่จะจดจำแต่ปัญหา แต่เรื่องที่ไม่ดีเก็บไว้ให้รกสมองเปล่า ๆ 
   8.หากมีัปัญหาชีวิตเกิดขึ้น  ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม ห้ามนึกโทษ น้อยใจ เสียใจ ตำหนิ บ่น ว่าการสวดมนต์ไม่เห็นช่วยอะไร พระคาถาไม่เห็นศักดิ์สิทธิ์เด็ดขาด ให้นึกเสียว่า กรรมเวรเรายังมี บารมีความเพียรเรายังน้อย แยกให้ออกว่านี่คือปัญหา นี่คือบุญ จงปักใจเชื่อเถอะว่าปัญหาที่มีอยู่ย่อมหมดไป เราจะต้องพบทางออกที่ดีแน่นอน จงตั้งสติให้ดีแล้วสวดไป อย่าได้ท้อแท้ล้มเลิก
   9.อาจมีคนที่ไม่เห็นด้วย กับการสวดมนต์ของเรา ก็ไม่ควรกล่าวร้าย นึกเกลียดชัง โกรธเขาเป็นอันขาด ใช้ปัญญาพิจารณามองให้เห็น ถึงสัจจธรรมความจริงของโลกว่า คนเรามีบุญ มีบารมี มีสติปัญญา มีเวรมีกรรมต่างกัน จงแผ่เมตตาให้เขาเถิด ให้เขาได้มีโอกาสทำเช่นเราบ้าง การทำแต่ละอย่างนั้นจะให้มีคนเห็นดีด้วยไปหมดนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้
  10.เรื่องความหมายหรือคำแปลนั้น ถ้ารู้ได้ก็ดี (หาอ่านได้ในหนังสือมนต์พิธีแปลทั่วไป) ถ้าไม่รู้ก็ไม่เป็นไรอย่าวิตกกังวลสนใจกับคำที่คนมักกล่าวว่า "สวดแบบนกแ้ก้ว นกขุนทอง" เลย เพราะคนสวด กับนกสวดนั้นย่อมต่างกันโดยสิ้นเชิง การสวดมนต์นั้นขอให้มีจิตจดจ่อมีความเชื่อยู่ที่อักขระพระคาถา อานิสงค์ย่อมมีมาก เพราะขณะนั้น สภาพจิตย่อมเป็นบุญกุศลตลอด